วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์แบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 14 วันที่ 28 เมษายน 2558
เวลาเข้าสอน 09.00 น. เวลาเข้าเรียน 09.00 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


กิจกรรมแรก อาจารย์ให้เรียนตามชีทที่อาจารย์ให้ปริ้นมา
 โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)
แผน IEP
-แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
-เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
-ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
-โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP
-คัดแยกเด็กพิเศษ
-ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
-เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
-แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
-ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
-ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
-การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
-เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
-ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
-วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก
-ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
-ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
-ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
-ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
-เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
-เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
-เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
-ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
-ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
-ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
-เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
-รายงานทางการแพทย์
-รายงานการประเมินด้านต่างๆ
-บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
-ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
-กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
-กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
-จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดจุดมุ่งหมาย
-ระยะยาว
-กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
-น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
-น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
-น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
-ระยะสั้น
-ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
-เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
-จะสอนใคร
-พฤติกรรมอะไร
-เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
-พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

3. การใช้แผน
-เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
-นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
-แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
-ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
-ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
-อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4. การประเมินผล
-โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
-ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล

** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม  อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**

เมื่อเรียนเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ให้นักศึกษาได้ลงมือเขียนด้วยตนเอง โดยเขียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ4-5คน แล้วช่วยกันคิดช่วยกันทำ ดังนี้


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้นคั่นเคลื่อนไหว

เมื่อเขียนแผนเสร็จกลุ่มเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ให้นักศึกษาทุกคนออกมาสอบร้องเพลงทีละ1คน



เมื่อทุกคนร้องเพลงกันเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ให้ได้รางวัลคนที่ได้คะแนนในการมาเรียนเยอะที่สุดและคนที่ดูแลในห้องด้วย




ก่อนจะจากกันเทอมนี้ก็ได้ร่วมถ่ายรูปกับอาจารย์




ประเมินหลังการเรียน
ตนเอง  วันนี้แต่งกายมาเรียนเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ฟังอาจารย์มาก มีตอบคำถามร่วมกับอาจารย์ มีความช่วยเหลือเพื่อนในห้องเรียน
เพื่อน  วันนี้เพื่อนมาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอนอย่างดี มีความสนุกสนานในการเรียน มีความสามัคคีช่วยเหลือกัน
อาจารย์  วันนี้อาจารย์มาสอนตรงเวลาเรียน มีความพร้อมมาสอน ตั้งใจและอธิบายความรู้อย่างละเอียด มีการยกตัวอย่างให้นักศึกษาเข้าใจยิ่งขึ้น มีการแนะนำและสอนในสิ่งที่ต้องเจอในอนาคตอย่างดีที่สุด


วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์แบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 13 วันที่ 20 เมษายน 2558
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.


กิจกรรมแรกก่อนเข้าสู่การเรียนการสอนอาจารย์ได้มีกิจกรรมสนุกๆมาให้นักศึกษาได้เล่นกันอย่างมีความสุข




ระหว่างเรียนอาจารย์ก็ได้ยกตัวอย่างมาให้ดูและอธิบายให้นักศึกษาได้เข้าใจมากขึ้น ดังนี้



         เนื้อหาที่ได้เรียนวันนี้
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
-การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
-มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
-เด็กรู้สึกว่า ฉันทำได้
-พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
-อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ
-ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
-จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
-เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
-เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
-คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

การรับรู้ การเคลื่อนไหว
ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น ตอบสนองอย่างเหมาะสม

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
-การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
-ต่อบล็อก
-ศิลปะ
-มุมบ้าน
-ช่วยเหลือตนเอง

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
-ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
-รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

ความจำ
-จากการสนทนา
-เมื่อเช้าหนูทานอะไร
-แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
-จำตัวละครในนิทาน
-จำชื่อครู เพื่อน
-เล่นเกมทายของที่หายไป

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
-จัดกลุ่มเด็ก
-เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
-ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
-ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
-ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
-บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
-รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
-มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
-เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
-พูดในทางที่ดี
-จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
-ทำบทเรียนให้สนุก

ประเมินหลังการเรียน
ตนเอง วันนี้มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน มีความเตรียมพร้อมในสิ่งที่จะเรียนของวันนี้ รู้สึกชอบที่อาจารย์นำกิจกรรมมาเล่นก่อนเข้าเรียน มีความสนุกสนานในการเรียนมากขึ้น 
เพื่อน วันนี้เพื่อนมาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนกันมากขึ้น มีความพร้อมในการเรียน มีการร่วมมือในการแสดงความคิดเห็นต่างๆ 
อาจารย์ วันนี้อาจารย์มาสอนตรงเวลา มีคามพร้อมในการสอน มีกิจกรรมสนุกๆมาให้นักศึกษาได้เล่นอย่างมีความสุข อาจารย์สอนอย่างตั้งใจ มีการอธิบายเนื้อหาในการเรียนที่ดี ทำให้นักศึกษามีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์แบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 12 วันที่ 30 มีนาคม 2558
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์บาสมาขอสอนคาบนี้

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์แบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 11 วันที่ 23 มีนาคม 2558
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน อาจารย์ให้สอบเก็บคะแนน 10 คะแนน เมื่อสอบเสร็จอาจารย์ก็คุยเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน

การประเมินหลังการเรียน
ตนเอง วันนี้มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจสอบ ตั้งใจอ่านหนังสือมาสอบก่อนล่วงหน้า
เพื่อน วันนี้เพื่อนมาเรียนครบทุกคน ตั้งใจสอบกันทุกคน แต่งกายเรียบร้อย ไม่คุยกัน

อาจารย์ วันนี้อาจารย์มาสอบตรงเวลา ให้ความสนใจนักศึกษาทำข้อสอบอย่างดีค่ะ

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์แบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 10 วันที่ 16 มีนาคม 2558
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.


วันนี้ก่อนจะเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ได้นำกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้เล่นอีกเหมือนเดิม ดังนี้





กิจกรรมที่2 อาจารย์ก็ได้แผ่นเพลงมาให้นักศึกษาได้ฝึกร้องกัน



เมื่อทำกิจกรรมเสร็จอาจารย์ก็เริ่มเข้าสู่บทเรียน
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
-เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
-การกินอยู่ 


-การเข้าห้องน้ำ 

-การแต่งตัว 

-กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ

-เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
-อยากทำงานตามความสามารถ
-เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
-การได้ทำด้วยตนเอง
-เชื่อมั่นในตนเอง
-เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง
-ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
-ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
-ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
-“ หนูทำช้า ” “ หนูยังทำไม่ได้

จะช่วยเมื่อไหร่
-เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
-หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
-เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
-มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
-แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
-เรียงลำดับตามขั้นตอน

การเข้าส้วม
-เข้าไปในห้องส้วม
-ดึงกางเกงลงมา
-ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
-ปัสสาวะหรืออุจจาระ
-ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
-ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
-กดชักโครกหรือตักน้ำราด
-ดึงกางเกงขึ้น
-ล้างมือ
-เช็ดมือ
-เดินออกจากห้องส้วม

การวางแผนทีละขั้น
-แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด

สรุป
-ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
-ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
-ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
-ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
-เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ


เมื่อเรียนเนื้อหาเสร็จแล้วต่อกิจกรรมสุดท้ายอาจารย์ก็แจกกระดาษให้คนละ1แผ่น 



อาจารย์อธิบาย พร้อมทั้งทำตัวอย่างให้ดู



เมื่อวาดสีเป็นวงกลมเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ให้ตัดเป็นวงกลม



เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผลงานออกมาดังนี้



เมื่อทุกคนเสร็จก็ให้นำผลงานของตัวเองมาติดบนกระดานเพื่อดูความคิดแตกต่างของเพื่อน



การประเมินหลังการเรียน
ตนเอง  วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา  เครื่องแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและที่อาจารย์อธิบายรายละเอียดต่างๆ มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์ ชอบที่อาจารย์มีนำเกมที่สนุกสนานๆมาเล่นก่อนเข้าสู่เนื้อหา รู้สึกทำให้มีอารมณ์ในการเรียนรู้มากขึ้น อยากเรียนมากขึ้นค่ะ
เพื่อน วันนี้เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นต่างๆภายในชั้นเรียน เพื่อนๆมีความสุขกับการในวันนี้
อาจารย์ วันนี้อาจารย์มีการนำเกมมาให้นักศึกษาเล่นเพื่อความสนุกสนานเป็นการเข้าสู่บทเรียนอย่างมีความสุขที่ดีมากเลยค่ะ อาจารย์สอนสนุกดีค่ะ มีการสอดแทรก ยกตัวอย่างให้นักศึกษาทำความเข้าใจง่ายขึ้นเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน เมื่อเรียนเสร็จอาจารย์ก็มีกิจกรรมที่ทำคู่กับเพื่อนเป็นอีก1กิจกรรมที่ทำแล้วคลายเครียดดีค่ะ วันนี้เป็นการเรียนที่มีความสนุกและมีความสุขมากค่ะ



วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์แบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3214)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
ครั้งที่ 9 วันที่ 9 มีนาคม 2558
เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเข้าเรียน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.


วันนี้ก่อนเริ่มเข้าสู่บทเรียน อาจารย์ได้นำกิจกรรมเล็กๆน้อยมาให้นักศึกษาได้เล่นกัน อย่างสนุกสนาน




เมื่อเล่นเกมกันเสร็จเรียบร้อยแล้วอาจารย์ก็ให้ร้องเพลงเหมือนสัปดาห์ที่แล้ว เมื่อร้องเพลงเสร็จก็เริ่มเรียนตามชีทค่ะ


ก่อนเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ได้นำวิดีโอของโทรทัศน์ครูมาให้ดู






การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม
-เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
-การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

กิจกรรมการเล่น
-การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
-เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
-ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง

ยุทธศาสตร์การสอน
-เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
-ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
-จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
-ครูจดบันทึก
-ทำแผน IEP

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
-วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
-คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
-ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
-เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน ครูให้เด็กพิเศษ

ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
-อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
-ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
-ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
-เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
-ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
-ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
-ทำโดย การพูดนำของครู

ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
-ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
-การให้โอกาสเด็ก
-เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
-ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง


             กิจกรรมสุดท้ายอาจารย์แจกกระดาษโดยแบ่งจับคู่กัน แล้วให้เลือกสีคนละ1สี โดยมีกติกาให้ลากเส้นทั้ง2คนพร้อมกัน ลากเป็นเส้นตรงอย่างเดียว โดยอาจารย์เปิดเพลงแล้วให้นักศึกษาวาดลงกระดาษตามเสียงดนตรี เมื่อลากเสร็จก็ให้เอาสีระบายบริเวณที่เป็นรูปวงกลมให้ครบทุกอัน แล้วเอาผลงานมาวางโชว์หน้าห้องเรียน


อาจารย์ให้เลือกสีมาคนละ 1 แท่ง



แล้วให้ลากเส้นตรงลงในกระดาษ



เมื่อขีดเขียนเสร็จแล้วก็ให้ระบายสีตรงบริเวณที่เป็นวงกลม



ผลงานใกล้จะเสร็จแล้วค่ะ



เสร็จแล้วผลงาน ดังนี้



เมื่อทุกกลุ่มเสร็จแล้วก็นำผลงานมาโชร์หน้าชั้นเรียน



การประเมินหลังการเรียน
     ตนเอง  วันนี้เข้าเรียนตรงเวลามีการช่วยเหลืออาจารย์โดยไปเอาที่ห้องพัก เครื่องแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและที่อาจารย์อธิบายรายละเอียดต่างๆ มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์ ชอบที่อาจารย์มีนำเกมที่สนุกสนานๆมาเล่นก่อนเข้าสู่เนื้อหา รู้สึกทำให้มีอารมณ์ในการเรียนรู้มากขึ้น อยากเรียนมากขึ้นค่ะ
     เพื่อน วันนี้เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นต่างๆภายในชั้นเรียน
     อาจารย์ วันนี้อาจารย์มีการนำเกมมาให้นักศึกษาเล่นเพื่อความสนุกสนานเป็นการเข้าสู่บทเรียนอย่างมีความสุข อาจารย์นำวิดีโอมาให้นักศึกษาได้ดูเป็นความรู้เพิ่มเติมเป็นสิ่งที่ดีมากเลยค่ะ อาจารย์สอนสนุกดีค่ะ มีการสอดแทรก ยกตัวอย่างให้นักศึกษาทำความเข้าใจง่ายขึ้นเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน เมื่อเรียนเสร็จอาจารย์ก็มีกิจกรรมที่ทำคู่กับเพื่อนเป็นอีก1กิจกรรมที่ทำแล้วคลายเครียดดีค่ะ วันนี้เป็นการเรียนที่มีความสนุกและมีความสุขมากค่ะ